วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Data warehouse
คลังข้อมูล (data warehouse) คือ
ฐานข้อมูลขนาดยักษ์ ที่รวบรวมฐานข้อมูลจากหลายแหล่งหลายช่วงเวลา ซึ่งอาจมี schema แตกต่างกัน มาไว้รวม ณ ที่เดียวกัน (และใช้ schema เดียวกัน)


คลังข้อมูลแตกต่างจากฐานข้อมูลอย่างไร?
โดยปกติแล้ว ฐานข้อมูลในองค์กรทั่วไปจะมีลักษณะที่ค่อนข้างทันต่อเหตุการณ์ เช่น ฐานข้อมูลพนักงานก็จะเก็บเฉพาะพนักงานในปัจจุบัน จะไม่สนใจข้อมูลพนักงานเก่า ๆ ในอดีต ซึ่งอาจจะมีข้อมูลอะไรบางอย่าง ที่มีประโยชน์สำหรับผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและคุณลักษณะต่าง ๆ ขององค์กร. นอกจากนี้ ฐานข้อมูลแต่ละอันมักถูกออกแบบมาใช้เก็บข้อมูลเฉพาะด้าน จึงมีข้อมูลเฉพาะบางส่วนขององค์กรเท่านั้น ฉะนั้นคลังข้อมูลจึงถูกออกแบบมา เพื่อรวบรวมข้อมูลในทุกส่วนของทั้งบริษัท ทั้งเก่าและใหม่ไว้ด้วยกัน ไม่มีการลบทิ้งข้อมูลเก่า ๆ ที่ไม่จริงในปัจจุบัน

สรุปคือคลังข้อมูล ใช้เพื่อการวิเคราะห์ (ข้อมูลทั้งอดีตและปัจจุบัน)ฐานข้อมูล ใช้เพื่อทำการประมวลผล (เฉพาะข้อมูลปัจจุบัน)ถ้าองค์กรมีคลังข้อมูลหลาย ๆ อันเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ต่าง ๆ แตกต่างกันไป เช่น คลังข้อมูลด้านการเงิน และ คลังข้อมูลด้านทรัพยากรมนุษย์ เรามักเรียกคลังข้อมูลเฉพาะด้านเหล่านี้ว่า ตลาดข้อมูล (data marts)อนึ่ง กระบวนการในการใช้ข้อมูลในคลังข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และวางแผนในทางธุรกิจ มักถูกเรียกว่า ปัญญาธุรกิจ

DATA MINING

DATA MINING คืออะไร
Data Mining คือ ชุด software วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ มันเป็น software ที่สมบรูณ์ทั้งเรื่องการค้นหา การทำรายงาน และโปรแกรมในการจัดการ ซึ่งเราคุ้นเคยดีกับคำว่า Executive Information System ( EIS ) หรือระบบข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการบริหาร ซึ่งเป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ที่สามารถค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบริหาร ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับฐานข้อมูลที่มีอยู่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System) คือทำอย่างไรให้ข้อมูลที่เรามีอยู่กลายเป็นความรู้อันมีค่าได้สร้างคำตอบของอนาคตได้


ทำไมจึงต้องมี Data Mining
1.ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลหากเก็บไว้เฉย ๆ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ดังนั้นจึงต้องมีการสกัดสารสนเทศไปใช้การสกัดสารสนเทศ หมายถึง การคัดเลือกข้อมูลออกมาใช้งานในส่วนที่เราต้องการ2.ในอดีตเราใช้คนเป็นผู้สืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ในฐานข้อมูลซึ่งผู้สืบค้นจะทำการสร้างเงื่อนไขขึ้นมาตามภูมิปัญญาของผู้สืบค้น3.ในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวอาจไม่ให้ความรู้เพียงพอและลึกซึ้งสำหรับการดำเนินงานภายใต้ภาวะที่มีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจึงจำเป็นที่จะต้องรวบรวมฐานข้อมูลหลาย ๆ ฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ คลังข้อมูล” ( Data Warehouse)ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องใช้ Data Mining ในการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เพื่อที่จะนำข้อมูลนั่นมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด


ปัจจัยที่ทำให้ Data Mining เป็นที่ได้รับความนิยม
จำนวนและขนาดข้อมูลขนาดใหญ่ถูกผลิตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว การสืบค้นความรู้จะมีความหมายก็ต่อเมื่อฐานข้อมูลที่ใช้มีขนาดใหญ่มาก ปัจจุบันมีจำนวนและขนาดข้อมูลขนาดใหญ่ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยผ่านทาง Internet ดาวเทียม และแหล่งผลิตข้อมูล อื่น ๆ เช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ด , เครดิตการ์ด , อีคอมเมิร์ซข้อมูลถูกจัดเก็บเพื่อนำไปสร้างระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System) เพื่อเป็นการง่ายต่อการนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ ส่วนมากข้อมูลจะถูกจัดเก็บแยกมาจากระบบปฏิบัติการ ( Operational System ) โดยจัดอยู่ในรูปของคลังหรือเหมืองข้อมูล ( Data Warehouse ) ซึ่งเป็นการง่ายต่อการนำเอาไปใช้ในการสืบค้นความรู้ระบบ computer สมรรถนะสูงมีราคาต่ำลง เทคนิค Data Mining ประกอบไปด้วย Algorithm ที่มีความซับซ้อนและความต้องการการคำนวณสูง จึงจำเป็นต้องใช้งานกับระบบ computer สมรรถนะสูง ปัจจุบันระบบ computer สมรรถนะสูงมีราคาต่ำลง พร้อมด้วยเริ่มมีเทคโนโลยีที่นำเครื่อง microcomputer จำนวนมากมาเชื่อมต่อกันโดยเครือข่ายความเร็วสูง ( PC Cluster ) ทำให้ได้ระบบ computer สมรรถนะสูงในราคาต่ำการแข่งขันอย่างสูงในด้านอุตสาหกรรมและการค้า เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันอย่างสูงในด้านอุตสหกรรมและการค้า มีการผลิตข้อมูลไว้อย่างมากมายแต่ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุมและสืบค้นความรู้ที่ถูกซ่อนอยู่ในฐานข้อมูลความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจในการจัดการในระบบต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าความรู้เหล่านี้ถือว่าเป็นผลิตผลอีกชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว

ประเภทข้อมูลที่สามารถทำ Data Mining
Relational Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในรูปแบบของตาราง โดยในแต่ละตารางจะประกอบไปด้วยแถวและคอลัมน์ ความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมดสามารถแสดงได้โดย entity-relationship ( ER ) modelData Warehouses เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งมาเก็บไว้ในรูปแบบเดียวกันและรวบรวมไว้ในที่ ๆ เดียวกันTransactional Database ประกอบด้วยข้อมูลที่แต่ละทรานเซกชันแทนด้วยเหตุการณ์ในขณะใดขณะหนึ่ง เช่น ใบเสร็จรับเงิน จะเก็บข้อมูลในรูป ชื่อลูกค้าและรายการสินค้าที่ลูกค้ารายนั้นซื้อ เป็นต้นAdvanced Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ข้อมูลแบบ object-oriented , ข้อมูลที่เป็น text file , ข้อมูลมัลติมีเดีย , ข้อมูลในรูปของ webลักษณะเฉพาะของข้อมูลที่สามารถทำ Data Miningข้อมูลขนาดใหญ่ เกินกว่าจะพิจารณาความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูลได้ด้วยตาเปล่า หรือโดยการใช้ Database Management System ( DBMS ) ในการจัดการฐานข้อมูลข้อมูลที่มาจากหลายแหล่ง โดยอาจรวบรวมมาจากหลายระบบปฏิบัติการหรือหลาย DBMS เช่น Oracle , DB2 , MS SQL , MS Access เป็นต้นข้อมูลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลาที่ทำการ Mining หากข้อมูลที่มีอยู่นั้นเป็นข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจะต้องแก้ปัญหานี้ก่อน โดยบันทึกฐานข้อมูลนั้นไว้และนำฐานข้อมูลที่บันทึกไว้มาทำ Mining แต่เนื่องจากข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จาการทำ Mining สมเหตุสมผลในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้องเหมาะสมอยู่ตลอดเวลาจึงต้องทำ Mining ใหม่ทุกครั้งในช่วงเวลาที่เหมาะสมข้อมูลที่มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลมัลติมีเดีย ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาทำ Mining ได้เช่นกันแต่ต้องใช้เทคนิคการทำ Data Mining ขั้นสูง

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

องค์ความรู้เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี

ขั้นตอนการทำงาน บัญชี
1. การจัดทำรายงานสถานะการเงินประจำวัน
เมื่อมีการรับ - จ่ายเงิน ต้องจัดทำรายงานฯ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงิน และผู้บริหารทราบ
2. ทะเบียนเงินสดรับ
เมื่อมีการรับเงินทุกประเภทต้องจัดทำการบันทึกบัญชีลง สมุดเงินสดรับ และทะเบียนเงินรายรับเพื่อผ่านไปยังบัญชีแยกประเภทต่อไป
3. สมุดเงินสดจ่าย
เมื่อมีการจ่ายเงินทุกประเภท ต้องจัดทำการบันทึกบัญชีลง สมุดเงินสดจ่าย และทะเบียนเงินรายจ่ายเพื่อผ่านไปยังบัญชีแยกประเภท
4. บัญชีแยกประเภท นำรายการบัญชีทุกประเภทของ อบต.มาจัดทำบัญชีแยกประเภทเพื่อจัดทำงบทดลองต่อไป
5. งบทดลอง นำรายการจากบัญชีแยกประเภททุกรายการมาจัดทำงบทดลองประจำเดือน
6. งบสิ้นปี เมื่อสิ้นปีงบประมาณนำงบทดลองประจำเดือนมาจัดทำงบสิ้นปีงบประมาณ

หน้าที่ ตำแหน่ง จพง.การเงินและบัญชี

หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฎิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านการเงินและบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานหรือการปฎิบัติงานการเงินและบัญชีที่ยากพอสมควร ภายใต้การกำกับดูแลและตรวจสอบ และการปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
- ตรวจสอบหลักฐาน และใบสำคัญการเบิกจ่ายเงิน
- จัดทำบัญชีทั่วไปของราชการ ดังนี้
1. บัญชีเงินสดรับ-จ่าย
2. บัญชีเงินฝากธนาคาร
3. บัญชีแยกประเภท
4. ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงิน
5. ทำหนังสือโต้ตอบเกี่ยวกับการบัญชี การงบประมาณ รายจ่ายตามยอดที่ไดรับอนุมัติ
6. จัดทำงบเดือน งบสิ้นปี รายงานการเงินเสนอผู้บริหาร

สถานที่ทำงาน


สถานที่ทำงาน

องค์การบริหารส่วนตำบลหัวช้าง

อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

ที่ตั้ง หมู่ที่ 1 ถนนสาย อุทุมพรฯ- ราษีฯ ตำบลหัวช้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

โครงสร้าง อบต.ดังนี้

1. ข้าราชการฝ่ายการเมือง ประกอบด้วย

1.1 ฝ่ายบริหาร

- นายสุวิทย์ สอนศรี ตำแหน่ง นายก อบต.

- นายสง่า สุโพธิ์ ตำแหน่ง รองนายก อบต.

- นางสำรวย ศรีแก้ว ตำแหน่ง รองนายก อบต.


1.2 ฝ่ายสภา อบต.

- นายสัมฤทธิ์ วิชัย ตำแหน่ง ประธานสภา อบต.หัวช้าง

- นายวิชัย สาสังข์ ตำแหน่ง รองประธานสภา อบต.หัวช้าง

- สมาชิก อบต.มาจากการเลือกตั้งหมู่บ้านละ 2 คน

2. ข้าราชการฝ่ายประจำ

2.1 สำนักงานปลัด ประกอบด้วย

- นายชาญวิทย์ บัวพันธ์ ตำแหน่ง ปลัด อบต.

- นายปุณยวีร์ จันทร ตำแหน่ง จนท.บริหารงานทั่วไป

- นางสาวกาญจนา ระดมสุข ตำแหน่ง จนท.วิเคราะห์นโยบายและแผน

- นางสาวรัศมี นันทะบุตร ตำแหน่ง จพง.ธรุการ


2.2 ส่วนการคลัง ประกอบด้วย

- นางสุวาณี พิมพ์จันทร์ ตำแหน่ง นักบริหารงานคลัง

- นางธนัญญา จันทร์ดี ตำแหน่ง จพง.การเงินและบัญชี

- นางสาวศรีประคอง บุญยอ ตำแหน่ง จนท.พัสดุ

- นางกิ่งกมล อินทฤธิ์ ตำแหน่ง จพง.ธรุการ


2.3 ส่วนโยธา ประกอบด้วย

- นายนิกร พวงอก ตำแหน่ง นักบริหารงานช่าง

- นายกฤษณ์ธร อัคตรบุตร ตำแหน่ง นายช่างโยธา

- นายอรุณ งามแสง ตำแหน่ง จพง.ธรุการ

2.4 ส่วนการศึกษา ประกอบด้วย

- นางสาวศิริลักษณ์ งามเกลี้ยง ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา

แนะนำตัว


ชื่อ~ ธนัญญา จันทร์ดี

ชื่อเล่น~ ไก่

เกิด 11 มกราคม 2525

อายุ 27 ปี

เพศ หญิง

สถานภาพ สมรส

อาชีพ รับราชการ

ที่อยู่ 61 หมู่ที่ 3 ตำบลหัวช้าง อ.อุทุมพรพพิสัย จ.ศรีสะเกษ โทร. 045-919649